ตัววิ่ง

ยิ น ดี ต้ อ น รั บ ค่ ะ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบ Green Economic

   green


     “เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับการเกษตรมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว รายได้ของประเทศได้มาใช้สร้างความเจริญด้านต่างๆ เป็นรายได้จากการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่าความเจริญของประเทศต้องอาศัยความเจริญของการเกษตรเป็นสำคัญและงานทุกๆ ฝ่ายจะดำเนินก้าวหน้าไปได้ก็เพราะการเกษตรของเราเจริญ” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     
   
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส เรื่องแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 เป็นต้นมา พระองค์ทรงเน้นย้ำหลักการพัฒนาบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ยึดหลักการทรงงานที่ถือผลประโยชน์ของประชาชน ภูมิสังคม การพึ่งตนเองเป็นฐานรากที่สำคัญ นอกจากนั้น ยังทรงเน้นย้ำเรื่องการพัฒนาศักยภาพของคนในทุกมิติการพัฒนา แบบองค์รวมและการพัฒนาแบบบูรณาการ การจัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เช่น การใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติภายใต้โครงการปลูกป่า 3 อย่าง แต่ได้ประโยชน์ 4 อย่าง และส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ลดพื้นที่การปลูกพืชเศรษฐกิจต่างถิ่น และสนับสนุนให้ปลูกพืชพลังงานทดแทนเพื่อการพึ่งพาตนเอง ลดการนำเข้าพลังงานน้ำมันจากต่างชาติแนวทางเหล่านี้ล้วนเป็นหลักการและวัตถุประสงค์ของการ จัดตั้งโครงการ “ชุมชนพอเพียง” ในคอนเซปต์คิดอย่างยั่งยืนของรัฐบาลชุดนี้ทั้งสิ้น แต่ก่อนที่จะมีโครงการนี้ขึ้นมาอย่างจริงจัง  อาจารย์วิวัฒน์  ศัลยกำธร หรือ อาจารย์ยักษ์ ผู้ซึ่งทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทมากว่า 16 ปี โดยรับใช้ใกล้ชิดกับพระองค์ท่านในหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการพิเศาเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้สัมผัสกับชีวิตของเกษตรกรในทั่วภูมิภาคของประเทศ ซึ่งได้พบกับปัญหาต่างๆ ของเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดินทำกิน ความยากจน ความรู้ในเรื่องการเกษตร ตลอดจนปัญหาสุขภาพ การศึกษา และอื่นๆ ประกอบกับที่ได้ถวายการรับใช้พระองค์ท่าน ได้เห็นพระองค์ท่านทุ่มเทพระวรกาย กำลัง ทุนทรัพย์ อีกทั้งเวลาส่วนใหญ่ให้กับการพัฒนา ค้นคว้า และทดลองในสิ่งต่างๆ ภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช ทำนาข้าว การปรับปรุงดิน และน้ำ การศึกษาการปลูกป่า และพืชสมุนไพร การปลูกแฝก โรงสี และเทคโนโลยีชีวภาพ การวิจัยเรื่องพลังงานและโครงการอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทรงลงมือปฏิบัติด้วยพระองค์เองด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อาจารย์ยักษ์ จึงได้รวบรวมกลุ่มคนในหลายๆ อาชีพที่มีแนวคิด แนวอุดมการณ์ในการที่จะฟื้นฟูประเทศ โดยนำแนวคิดเรื่องทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ให้ใช้กับการทำการเกษตรและการดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งการณรงค์ให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี หยุดการพึ่งพาชาติตะวันตกและหันกลับมาพุ่งพาตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้านที่เคยสืบทอดกันมาเพื่อเน้นการทำเกษตรที่ยั่งยืนบนผืนแผ่นดินไทย จึงได้จัดตั้งเป็น “ชมรมกสิกรรมธรรมชาติ” รณรงค์เผยแพร่และให้ความรู้เรื่องการทำกสิกรรมธรรมชาติเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำการเกษตร และอยู่อย่างพอเพียงได้จริง  อาจารย์ยักษ์ ลงมือทำเองเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถพึ่งตนเองได้การพึ่งตนเองเริ่มจากการปลูกป่า 3 อย่างเพื่อประโยชน์ไว้กินเป็นอาหาร เป็นยา และมีไม้ไว้สร้างบ้าน และไว้ใช้งานต่างๆ รวมทั้งทำนา ปุ๋ย ทำเอนไซม์สมุนไพรธรรมชาติใช้เองในนาข้าว และพืชชนิดอื่นๆ ทั้งพืชผักและไม่ผล รวมถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วย โดยทำการทดลองที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี และนำประสบการณ์ที่ปฏิบัติจริงไปเผยแพร่ความรู้ให้แก่เกษตรกร ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การผลิตเอนไซม์สมุนไพรธรรมชาติ สมุนไพรไล่แมลง โดยทำการทดลองและเผยแพร่ในพื้นที่ของเกษตรกรกว่า 50 จังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศ
ถือว่าได้ อาจารย์วิวัฒน์  ศัลยกำธร เป็นบุคคลซึ่งเดินตามรอยพ่อตัวจริง “เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง” มีวิถีชีวิตอย่างพอเพียง มีแนวคิดและวิธีการทำงานอย่างคำพอสอน
ขอบคุณข้อมูลจากนิตยสาร Vote
            การพยายามเปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นพ่อค้า ทำให้ประเทศไทยเกือบจะล้มไม่เป็นท่า การมองหาทางออกที่ดีจึงเริ่มขึ้น ด้วยการหันกลับมามองที่รากฐานเดิมของคนไทยที่ผู้คนแต่ดั้งเดิมมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ทำการเกษตรเพื่อเลี้ยงตัวเองและรู้จักแบ่งปัน รัฐบาลจึงจัดตั้งโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนและให้มีสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน หรือ สพช. เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อมุ่งขับเคลื่อนไห้ทุกภาคส่วนในหมู่บ้านและชุมชน ร่วมกันบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพของตนเองที่มีอยู่เดิมให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ ลดต้นทุนและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และสร้างโอกาสในการพัฒนาหรือเพิ่มขีดความสามารถในการเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้กับหมู่บ้าน และชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง